วันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ข้าวหลาม

บุญข้าวหลาม
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา

บุญข้าวหลาม เป็นประเพณีการทำบุญด้วยข้าวหลามของชาวไทยพวน กระทำเป็นประจำทุกปีในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 หลังจากเสร็จสิ้นฤดูเก็บเกี่ยว เพื่อแสดงถึงความอิ่มหนำสำราญและช่วยสืบทอดพุทธศาสนาได้อีกทางหนึ่ง เพราะการทำบุญด้วยข้าวหลามเป็นหนึ่งในลักษณะทาน 9 ครั้งตามพุทธประวัติ
การเตรียมทำบุญข้าวหลามจะเริ่มขึ้นในวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 3 ก่อนวันพระหนึ่งวันหรือเรียกกันว่าวันโกน ฝ่ายชายจะไปตัดไม้ไผ่อ่อนเป็นท่อน ๆ ตามขนาดของปล้องโดยให้ด้านหนึ่งติดปล้องไว้เพื่อป้องกันไม่ให้รั่ว ฝ่ายหญิงเตรียมแช่ข้าวเหนียว ขูดมะพร้าว ปรุงข้าวหลามให้ได้สามรส คือ หวาน มัน เค็ม สำหรับกรอกใส่กระบอกไม้ไผ่แล้วนำไปเผาไฟ


ที่มา
http://www.google.com/search?sourceid=navclient&ie=UTF-8&rls=GBSA,GBSA:2009-36,GBSA:en&q=%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A1




ขนมจีน

ขนมจีน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา

บทความนี้เกี่ยวกับอาหารคาว สำหรับนักร้องที่ใช้ชื่อนี้ ดูที่ กุลมาศ ลิมปวุฒิวรานนท์

ขนมจีนน้ำพริก
ขนมจีน เป็นอาหารคาวอย่างหนึ่งของไทย ประกอบด้วยเส้นเรียกว่า เส้นขนมจีน และน้ำยา หรือน้ำยาขนมจีน เป็นที่นิยมทุกท้องถิ่นของไทย แต่มีการปรุงน้ำยาแตกต่างกัน
แม้ว่า ขนมจีน จะมีคำว่า "ขนม" แต่ก็ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับขนมใดๆ ขณะเดียวกัน แม้จะมีคำว่า "จีน" แต่ก็ไม่ได้เกี่ยวข้องกับอาหารของจีน ภาษาเหนือเรียก ขนมเส้น ภาษาอิสาน เรียก ข้าวปุ้น จะมีขนมจีนชนิดหนึ่งซึ่งใกล้เคียงกับขนม คือ ขนมจีนซาวน้ำ เพราะมีรสหวาน
เนื้อหา[ซ่อน]
1 ประวัติ
2 เส้นขนมจีน
2.1 ชนิดของเส้น
2.1.1 เส้นหมัก
2.1.2 เส้นสด
2.2 วิธีทำให้เป็นเส้น
3 ขนมจีนในแต่ละถิ่น
4 การรับประทาน
5 อ้างอิง
//
[แก้] ประวัติ
คำว่า "ขนมจีน" ไม่ใช่อาหารจีน แต่คำว่า "จีน" ที่ต่อท้ายขนมนี้สันนิษฐานกันว่าน่าจะมาจากมอญซึ่งเรียกขนมจีนว่า "คนอมจิน" หมายถึง "สุก 2 ครั้ง" พิศาล บุญปลูก ชาวไทยเชื้อสายรามัญผู้สนใจศึกษาอาหารและวัฒนธรรมมอญกล่าวว่า " จริง ๆ แล้ว ขนมจีนเป็นอาหารของคนมอญหรือรามัญ คนมอญเรียกขนมจีนว่า คนอมจิน คนอม หมายความว่าจับกันเป็นกลุ่มเป็นก้อน จินแปลว่าทำให้สุก" นอกจากนี้ "คนอม" นั้นสันนิษฐานว่าน่าจะใกล้เคียงกับคำไทย "เข้าหนม" แปลว่าข้าวที่นำมานวดให้เป็นแป้งเสียก่อน ซึ่งภายหลังกร่อนเป็น "ขนม" จริง ๆ แล้ว ขนม ในความหมายดั้งเดิมจึงมิใช่ของหวานอย่างที่เข้าใจในปัจจุบัน ขนม หรือ หนม ในภาษาเขมร หรือ คนอม ในภาษามอญหมายถึงอาหารที่ทำจากแป้ง ดังนั้นขนมจีน จึงน่าจะเพี้ยนมาจาก คนอมจิน ซึ่งทำให้เกิดสมมุติฐานตามมาอีกว่า ดั้งเดิมทีเดียวขนมจีนเป็นอาหารมอญ แล้วจึงแพร่หลายไปสู่ชนชาติอื่น ๆ ในสุวรรณภูมิตั้งแต่โบราณกาล จนเป็นอาหารที่ทำงานและมีความนิยมสูง สามารถหาทานได้ทั่วไป
[แก้] เส้นขนมจีน
[แก้] ชนิดของเส้น
วิธีการทำเส้นขนมจีนนั้นในคุณลักษณะเหมือนกัน มีความแตกต่างมากในวิธีทำทั้ง 2แบบต่อไปนี้

ได้มีการแนะนำว่า บทความนี้หรือบางส่วนของบทความนี้ควรย้ายไปที่โครงการวิกิตำรา (อภิปราย)เนื่องจากมีเนื้อหาไม่ตรงตามนโยบายของวิกิพีเดีย แต่อาจเหมาะสมกับโครงการวิกิตำรามากกว่า
[แก้] เส้นหมัก
ใช้วิธีการหมักแป้งข้าวเจ้าโดย นำแป้งข้าวเจ้ามาแช่น้ำให้นิ่ม และนำไปโม่ก่อนหมักประมาณเจ็ดวันเมื่อหมักแล้วจึงนำมานวดในเครื่องนวดแป้ง
[แก้] เส้นสด
ใช้วิธีการผสมแป้งข้าวเจ้า ไม่ต้องทิ้งไว้แล้วจึงนำมานวดในเครื่องนวดแป้งจะได้เส้นที่เล็กและนุ่ม
[แก้] วิธีทำให้เป็นเส้น
ทำมาจากแป้งข้าวเจ้า หรือถ้าเป็นสมัยนี้ก็แป้งขนมจีนสำเร็จ แต่ต้องนำมานวดก่อน หลังจากนั้นให้เทแป้งใส่กระบอกทองเหลือง มีรูเจาะไว้ที่ปลายด้านหนึ่ง เมื่อกดแป้งเข้าไปในกระบอก เส้นขนมจีนก็จะไหลออกจากปลายกระบอก เป็นเส้นกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 - 1.5 มิลลิเมตร นวดเสร็จก็นำเข้าเครื่องบีบเพื่อทำให้เป็นเส้นขนมจีน เมื่อได้เส้นแล้วก็ทำต้มในน้ำร้อนเดือดเพื่อทำความสะอาด แล้วนำมาร้าดด้วยน้ำสะอาดอีกทีหนึ่งก่อนที่จะนำเส้นไปจับเป็นจับ
เส้นขนมจีนที่ได้ มักจะจัดเรียงเอาไว้เป็นกลุ่มๆ ขนาดประมาณ 1 ฝ่ามือ บางถิ่นเรียก จับ หรือ หัว เมื่อเรียงในจานสำหรับรับประทาน จะใส่ประมาณ 3-4 จับนำขนมจีนมาวางใส่ตระกตะกร้าขนมจีนจะต้องรองด้วยใบตองก่อน
[แก้] ขนมจีนในแต่ละถิ่น
ภาคเหนือ เรียกว่า ขนมเส้นหรือข้าวเส้น
ภาคอีสาน เรียกว่า ข้าวปุ้น
ภาคใต้ เรียกว่า โหน้มจีน
เวียดนามมีเส้นคล้ายขนมจีนเรียกบุ๋น นิยมกินกับน้ำซุปหมูและเนื้อ ซึ่งเป็นอาหารที่มีชื่อเสียงของเว้ เรียก บุ๋นบ่อเหว [1]
ลาวเรียกขนมจีนว่าข้าวปุ้น นิยมกินกับน้ำยาปลาหรือน้ำยาเป็ด ทางหลวงพระบางกินกับน้ำยาผสมเลือดหมูเรียกน้ำแจ๋ว [1]
กัมพูชาเรียกขนมจีนว่า นมปันเจ๊าะ นิยมกินกับน้ำยาปลาร้า [1]
พม่ามีอาหารประจำชาติเรียกโมฮิงก่า ซึ่งมีลักษณะคล้ายขนมจีนน้ำยาปลาของไทย[1]
[แก้] การรับประทาน
เมื่อเรียงจับขนมจีนลงในจับแล้ว ผู้รับประทานจะราดน้ำยาลงไปบนเส้นขนมจีนให้ทั่ว น้ำยาขนมจีนนั้น มีลักษณะคล้ายน้ำแกง ไม่เหลวจนเกินไป ใช้ราดไปบนเส้นขนมจีนในจาน แต่ละท้องถิ่นจะมีน้ำยาแตกต่างกันไป เช่น น้ำยากะทิ น้ำยาป่า น้ำพริก แกงกะทิต่างๆ เช่น แกงเขียวหวาน น้ำเงี้ยว แกงไตปลา ซาวน้ำ สำหรับเด็กก็ยังมี น้ำยาหวานที่ไม่มีรสเผ็ดและมีส่วนผสมของถั่ว เป็นต้นใช้ช้อนตัดเส้นขนมจีนให้มีความยาวพอดีคำ แล้วคลุกเคล้าให้เข้ากับน้ำยา บางท่านนิยมรับประทานขนมจีนกับน้ำปลา นอกจากน้ำยาแล้ว ยังมีเครื่องเคียงเป็นผักสดและผักดอง ตามรสนิยมในแต่ละท้องถิ่น ทว่าไม่นิยมเติมเครื่องปรุงรสอื่นๆ ในขนมจีน แต่ส่วนใหญ่จะนิยมรับประทานกับเครื่องเคียงประเภททอด เช่น ทอดมัน ดอกไม้ทอด หรืออื่นๆ ตามแต่ความชอบและความนิยมในแต่ละภาค

ที่มาhttp://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%82%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B8%99

ขนมไทย

ขนมไทย
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา
ขนมไทย เป็นของหวานที่ทำและรับประทานกันในอาณาจักรไทย มีเอกลักษณ์ด้านวัฒนธรรมประจำชาติไทยคือ มีความละเอียดอ่อนประณีตในการเลือกสรรวัตถุดิบ วิธีการทำ ที่พิถีพิถัน รสชาติอร่อยหอมหวาน สีสันสวยงาม รูปลักษณ์ชวนรับประทาน ตลอดจนกรรมวิธีการรับประทานที่ปราณีตบรรจงของขนมแต่ละชนิด ซึ่งยังแตกต่างกันไปตามลักษณะของขนมชนิดนั้นๆ
เนื้อหา[ซ่อน]
1 ประวัติความเป็นมาของขนมไทย
2 การแบ่งประเภทของขนมไทย
3 วัตถุดิบในการปรุงขนมไทย
3.1 ข้าวและแป้ง
3.2 มะพร้าวและกะทิ
3.3 น้ำตาล
3.4 ไข่
3.5 ถั่วและงา
3.6 กล้วย
3.7 สี
3.8 กลิ่นหอม
4 ขนมไทยแต่ละภาค
4.1 ขนมไทยภาคเหนือ
4.2 ขนมไทยภาคกลาง
4.3 ขนมไทยภาคอีสาน
4.4 ขนมไทยภาคใต้
5 ขนมในพิธีกรรมและงานเทศกาล
5.1 ขนมไทยในงานเทศกาล
5.2 ขนมไทยในพิธีกรรมและความเชื่อ
6 ขนมที่มีชื่อเสียงเฉพาะถิ่น
7 ขนมไทยที่ได้รับอิทธิพลจากขนมของชาติอื่น
8 อ้างอิง
9 ดูเพิ่ม
10 แหล่งข้อมูลอื่น
//
[แก้] ประวัติความเป็นมาของขนมไทย
ในสมัยโบราณคนไทยจะทำขนมเฉพาะวาระสำคัญเท่านั้น เป็นต้นว่างานทำบุญ เทศกาลสำคัญ หรือต้อนรับแขกสำคัญ เพราะขนมบางชนิดจำเป็นต้องใช้กำลังคนอาศัยเวลาในการทำพอสมควร ส่วนใหญ่เป็น ขนมประเพณี เป็นต้นว่า ขนมงาน เนื่องในงานแต่งงาน ขนมพื้นบ้าน เช่น ขนมครก ขนมถ้วย ฯลฯ ส่วนขนมในรั้วในวังจะมีหน้าตาจุ๋มจิ๋ม ประณีตวิจิตรบรรจงในการจัดวางรูปทรงขนมสวยงาม
ขนมไทยที่นิยมทำกันทุกๆ ภาคของประเทศไทย ในพิธีการต่างๆ เนื่องในการทำบุญเลี้ยงพระ ก็คือขนมจากไข่ และมักถือเคล็ดจากชื่อและลักษณะของขนมนั้นๆ งานศิริมงคลต่างๆ เช่น งานมงคลสมรส ทำบุญวันเกิด หรือทำบุญขึ้นบ้านใหม่ ส่วนใหญ่ก็จะมีการเลี้ยงพระกับแขกที่มาในงาน เพื่อเป็นศิริมงคลของงานขนมก็จะมีฝอยทอง เพื่อหวังให้อยู่ด้วยกันยืดยาว มีอายุยืน ขนมชั้นก็ให้ได้เลื่อนขั้นเงินเดือน ขนมถ้วยฟูก็ขอให้เฟื่องฟู ขนมทองเอกก็ขอให้ได้เป็นเอก เป็นต้น
สมัยรัตนโกสินทร์ จดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวี กล่าวไว้ว่าในงานสมโภชพระแก้วมรกตและฉลองวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ได้มีเครื่องตั้งสำรับหวานสำหรับพระสงฆ์ 2,000 รูป ประกอบด้วย ขนมไส้ไก่ ขนมฝอย ข้าวเหนียวแก้ว ขนมผิง กล้วยฉาบ ล่าเตียง หรุ่ม สังขยา ฝอยทอง และขนมตะไล
ในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการพิมพ์ตำราอาหารออกเผยแพร่ รวมถึงตำราขนมไทยด้วย จึงนับได้ว่าวัฒนธรรมขนมไทยมีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรก ตำราอาหารไทยเล่มแรกคือแม่ครัวหัวป่าก์ เขียนโดยท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงศ์ ในหนังสือเล่มนี้ มีรายการสำรับของหวานเลี้ยงพระได้แก่ ทองหยิบ ฝอยทอง ขนมหม้อแกง ขนมหันตรา ขนมถ้วยฟู ขนมลืมกลืน ข้วเหนียวแก้ว วุ้นผลมะปราง
ในสมัยต่อมาเมื่อการค้าเจริญขึ้นในตลาดมีขนมนานาชนิดมาขาย ทั้งขายอยู่กับที่ แบกกระบุง หาบเร่ และมีการปรับปรุงการบรรจุหีบห่อไปตามยุคสมัย เช่นในปัจจุบันมีการบรรจุในกล่องโฟมแทนการห่อด้วยใบตองในอดีต[1]
[แก้] การแบ่งประเภทของขนมไทย
แบ่งตามวิธีการทำให้สุกได้ดังนี้ [2]
ขนมที่ทำให้สุกด้วยการกวน ส่วนมากใช้กระทะทอง กวนตั้งแต่เป็นน้ำเหลวใสจนงวด แล้วเทใส่พิมพ์หรือถาดเมื่อเย็นจึงตัดเป็นชิ้น เช่น ตะโก้ ขนมลืมกลืน ขนมเปียกปูน ขนมศิลาอ่อน และผลไม้กวนต่างๆ รวมถึง ข้าวเหนียวแดง ข้าวเหนียวแก้ว และกะละแม
ขนมที่ทำให้สุกด้วยการนึ่ง ใช้ลังถึง บางชนิดเทส่วนผสมใส่ถ้วยตะไลแล้วนึ่ง บางชนิดใส่ถาดหรือพิมพ์ บางชนิดห่อด้วยใบตองหรือใบมะพร้าว เช่น ช่อม่วง ขนมชั้น ข้าวต้มผัด สาลี่อ่อน สังขยา ขนมกล้วย ขนมตาล ขนมใส่ไส้ ขนมเทียน ขนมน้ำดอกไม้
ขนมที่ทำให้สุกด้วยการเชื่อม เป็นการใส่ส่วนผสมลงในน้ำเชื่อมที่กำลังเดือดจนสุก ได้แก่ ทองหยอด ทองหยิบ ฝอยทอง เม็ดขนุน กล้วยเชื่อม จาวตาลเชื่อม
ขนมที่ทำให้สุกด้วยการทอด เป็นการใส่ส่วนผสมลงในกระทะที่มีน้ำมันร้อนๆ จนสุก เช่น กล้วยทอด ข้าวเม่าทอด ขนมกง ขนมค้างคาว ขนมฝักบัว ขนมนางเล็ด
ขนมที่ทำให้สุกด้วยการนึ่งหรืออบ ได้แก่ ขนมหม้อแกง ขนมหน้านวล ขนมกลีบลำดวน ขนมทองม้วน สาลี่แข็ง ขนมจ่ามงกุฏ นอกจากนี้ อาจรวม ขนมครก ขนมเบื้อง ขนมดอกลำเจียกที่ใช้ความร้อนบนเตาไว้ในกลุ่มนี้ด้วย
ขนมที่ทำให้สุกด้วยการต้ม ขนมประเภทนี้จะใช้หม้อหรือกระทะต้มน้ำให้เดือด ใส่ขนมลงไปจนสุกแล้วตักขึ้น นำมาคลุกหรือโรยมะพร้าว ได้แก่ ขนมถั่วแปบ ขนมต้ม ขนมเหนียว ขนมเรไร นอกจากนี้ยังรวมขนมประเภทน้ำ ที่นิยมนำมาต้มกับกะทิ หรือใส่แป้งผสมเป็นขนมเปียก และขนมที่กินกับน้ำเชื่อและน้ำกะทิ เช่น กล้วยบวชชี มันแกงบวด สาคูเปียก ลอดช่อง ซ่าหริ่ม
[แก้] วัตถุดิบในการปรุงขนมไทย
ขนมไทยส่วนใหญ่ทำมาจากข้าวและจะใช้ส่วนประกอบอื่นๆ เช่น สี ภาชนะ กลิ่นหอมจากธรมชาติ ข้าวที่ใช้ในขนมไทยมีทั้งใช้ในรูปข้าวทั้งเม็ดและข้าวที่อยู่ในรูปแป้ง นอกจากนั้นยังมีวัตถุดิบอื่นๆ เช่น มะพร้าว ไข่ น้ำตาล ซึ่งจะกว่างถึงรายละเอียดดังต่อไปนี้
[แก้] ข้าวและแป้ง
การนำข้าวมาทำขนมของคนไทยเริ่มตั้งแต่ข้าวไม่แก่จัด ข้าวอ่อนที่เป็นน้ำนม นำมาทำข้าวยาคู พอแก่ขึ้นอีกแต่เปลือกยังเป็นสีเขียวนำมาทำข้าวเม่า ข้าวเม่าที่ได้นำไปทำขนมได่อีกหลายชนิด เช่น ข้าวเม่าคลุก ข้าวเม่าบด ข้าวเม่าหมี่ กระยาสารท ข้าวเจ้าที่เหลือจากการรับประทาน นำไปทำขนมไข่มด ขนมไข่จิ้งหรีด ข้าวตูได้อีก[3] ส่วนแป้งที่ใช้ทำขนมไทยส่วนใหญ่ได้มาจากข้าวคือแป้งข้าวเจ้าและแป้งข้าวเหนียว ในสมัยก่อนใช้แป้งสดคือแป้งที่ได้จากการนำเม็ดข้าวแช่น้ำแล้วโม่ให้ละเอียด ในปัจจุบันใช้แป้งแห้งที่ผลิตจากโรงงาน นอกจากนี้ แป้งที่ใช้ได้แก่ แป้งถั่ว แป้งท้าวยายม่อม แป้งมันสำปะหลัง ส่วนแป้งสาลีมีใช้น้อย มักใช้ในขนมที่ได้รับอิทธิพลจากต่างชาติ[4]
[แก้] มะพร้าวและกะทิ
มะพร้าวนำมาใช้เป็นส่วนประกอบของขนมไทยได้ตั้งแต่มะพร้าวอ่อนจนถึงมะพร้าวแก่ดังนี้ [4]
มะพร้าวอ่อน ใช้เนื้อผสมในขนม เช่น เปียกสาคู วุ้นมะพร้าว สังขยามะพร้าวอ่อน
มะพร้าวทึนทึก ใช้ขูดฝอยทำเป็นไส้กระฉีก ใช้คลุกกับข้าวต้มมัดเป็นข้าวต้มหัวหงอก และใช้เป็นมะพร้าวขูดโรยหน้าขนมหลายชนิด เช่น ขนมเปียกปูน ขนมขี้หนู ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของขนมไทย[5]
มะพร้าวแก่ นำมาคั้นเป็นกะทิก่อนใส่ในขนม นำไปทำขนมได้หลายแบบ เช่น ต้มผสมกับส่วนผสม เช่นกล้วยบวชชี แกงบวดต่างๆ หรือตักหัวกะทิราดบนขนม เช่น สาคูเปียก ซ่าหริ่ม บัวลอย
[แก้] น้ำตาล
แต่เดิมนั้นน้ำตาลที่นำมาใชทำขนมคือน้ำคาลจากตาลหรือมะพร้าว ในบางท้องที่ใช้น้ำตาลอ้อย น้ำตาลทรายถูกนำมาใช้ภายหลัง
[แก้] ไข่
เริมเป็นส่วนผสมของขนมไทยตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชซึ่งได้รับอิทธิพลจากขนมของโปรตุเกส ไข่ที่ใช้ทำขนมนี้จะตีให้ขึ้นฟู ก่อนนำไปผสม ขนมบางชนิดเช่น ต้องแยกไข่ขาวและไข่แดงออกจากกัน แล้วใช้แต่ไข่แดงไปทำขนม [4]
[แก้] ถั่วและงา
ถั่วและงาจัดเป็นส่วนผสมที่สำคัญในขนมไทย การใช้ถั่วเขียวนึ่งละเอียดมาทำขนมพบไดตั้งแต่สมัยอยุธยา เช่นขนมภิมถั่วทำด้วยถั่วเหลืองหรือถั่วเขียวกวนมาอัดใส่พิมพ์[6] ถั่วและงาที่นิยมใช้ในขนมไทยมีดังนี้[7]
ถั่วเขียวเราะเปลือก มีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น ถั่วทอง ถั่วซีก ถั่วเขียวที่ใช้ต้องล้งและแช่น้ำค้างคืนก่อนเอาไปนึ่ง
ถั่วดำ ใช้ใส่ในขนมไทยไม่กี่ชนิด และใส่ทั้งเม็ด เช่น ข้าวต้มหมัด ข้าวหลาม ถั่วดำต้มน้ำตาล ขนมถั่วดำ
ถั่วลิสง ใช้น้อย ส่วนใหญ่ใช้โรยหน้าขนมผักกาดกวน ใส่ในขนมจ่ามงกุฏ ใส่ในรูปที่คั่วสุกแล้ว
งาขาวและงาดำ ใส่เป็นส่วนผสมสำคัญในขนมบางชนิดเช่น ขนมเทียนสลัดงา ขนมแดกงา
[แก้] กล้วย
กล้วยมีส่วนเกี่ยวข้องกับขนมไทยหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น ขนมกล้วย กล้วยกวน กล้วยเชื่อม กล้วยแขกทอด หรือใช้กล้วยเป็นไส้ เช่น ข้าวต้มมัด ข้าวเหนียวปิ้งไส้กล้วย ข้าวเม่า กล้วยที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นกล้วยน้ำว้า กล้วยแต่ละชนิดเมื่อนำมาทำขนมบางครั้งจะให้สีต่างกัน เช่น กล้วยน้ำว้าเมื่อนำไปเชื่อมให้สีแดง กล้วยไข่ให้สีเหลือง เป็นต้น[8]
[แก้] สี
สีที่ได้จากธรรมชาติและใช้ในขนมไทย มีดังนี้ [4]
สีเขียว ได้จากใบเตยโขลกละเอียด คั้นเอาแต่น้ำ
สีน้ำเงินจากดอกอัญชัน เด็ดกลีบดอกอัญชันแช่ในน้ำเดือด ถ้าบีบน้ำมะนาวลงไปเล็กน้อยจะได้สีม่วง
สีเหลืองจากขมิ้นหรือหญ้าฝรั่น
สีแดงจากครั่ง
สีดำจากกาบมะพร้าวเผาไฟ นำมาโขลกผสมน้ำแล้วกรอง
[แก้] กลิ่นหอม
กลิ่นหอมที่ใช้ในขนมไทยได้แก่ [4]
กลิ่นน้ำลอยดอกมะลิ ใช้ดอกมะลิที่เก็บในตอนเช้า แช่ลงในน้ำต้มสุกที่เย็นแล้วให้ก้านจุ่มอยู่ในน้ำ ปิดฝาทิ้งไว้ 1 คืน รุ่งขึ้นจึงกรอง นำนำไปใช้ทำขนม
กลิ่นดอกกระดังงา นิยมใช้อบขนมแห้ง โดยเด็ดกลีบกระดังงามาลนเทียนอบให้หอม ใส่ขวดโหลที่ใส่ขนมไว้ ปิดฝาให้สนิท
กลิ่นเทียนอบ จุดไฟที่ปลายเทียนอบทั้งสองข้างให้ลุกสักครู่หนึ่งแล้วดับไฟ วางลงในถ้วยตะไล ใส่ในขวดโหลที่ใส่ขนม ปิดผาให้สนิท
กลิ่นใบเตย หั่นใบเตยที่ล้างสะอาดเป็นท่อนยาว ใส่ลงไปในขนม
[แก้] ขนมไทยแต่ละภาค
[แก้] ขนมไทยภาคเหนือ
ส่วนใหญ่จะทำจากข้าวเหนียว และส่วนใหญ่จะใช้วิธีการต้ม เช่น ขนมเทียน ขนมวง ข้าวต้มหัวหงอก มักทำกันในเทศกาลสำคัญ เช่นเข้าพรรษา สงกรานต์
ขนมที่นิยมทำในงานบุญเกือยทุกเทศกาลคือขนมใส่ไส้หรือขนมจ๊อก ขนมที่หาซื้อได้ทั่วไปคือ ขนมปาดซึ่งคล้ายขนมศิลาอ่อน ข้าวอีตูหรือข้าวเหนียวแดง ข้าวแตนหรือข้าวแต๋น ขนมเกลือ ขนมที่มีรับประทานเฉพาะฤดูหนาว ได้แก่ ข้าวหนุกงา ซึ่งเป็นงาคั่วตำกับข้าวเหนียว ถ้าใส่น้ำอ้อยด้วยเรียกงาตำอ้อย ข้าวแคบหรือข้าวเกรียบว่าว ลูกก่อ ถั่วแปะยี ถั่วแระ ลูกลานต้ม[9]
ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ขนมพื้นบ้านได้แก่ ขนมอาละหว่า ซึ่งคล้ายขนมหม้อแกง ขนมเปงม้ง ซึ่งคล้ายขนมอาละหว่าแต่มีการหมักแป้งให้ฟูก่อน ขนมส่วยทะมินทำจากข้าวเหนียวนึ่ง น้ำตาลอ้อยและกะทิ ในช่วงที่มีน้ำตาลอ้อยมากจะนิยมทำขนมอีก 2 ชนิดคือ งาโบ๋ ทำจากน้ำตาลอ้อยเคี่ยวให้เหนียวคล้ายตังเมแล้วคลุกงา กับ แปโหย่ ทำจากน้ำตาลอ้อยและถั่วแปยี มีลักษณะคล้ายถั่วตัด[10]
[แก้] ขนมไทยภาคกลาง
ส่วนใหญ่ทำมาจากข้าวเจ้า เช่น ข้าวตัง นางเล็ด ข้าวเหนียวมูล และมีขนมที่หลุดลอดมาจากรั้ววัง จนแพร่หลายสู่สามัญชนทั่วไป เช่น ลูกชุบ หม้อข้าวหม้อแกง ฝอยทอง ทองหยิบ เป็นต้น
[แก้] ขนมไทยภาคอีสาน
เป็นขนมที่ทำกันง่ายๆ ไม่พิถีพิถันมากเหมือนขนมภาคอื่น ขนมพื้นบ้านอีสานได้แก่ ข้าวจี่ บายมะขามหรือมะขามบ่ายข้าว ข้าวโป่ง [11]นอกจากนั้นมักเป็นขนมในงานบุญพิธี ที่เรียกว่า ข้าวประดับดิน โดยชาวบ้านนำข้าวที่ห่อใบตอง มัดด้วยตอกแบบข้าวต้มมัด กระยาสารท ข้าวทิพย์ ข้าวยาคู ขนมพื้นบ้านของจังหวัดเลยมักเป็นขนมง่ายๆ เช่น ข้าวเหนียวนึ่งจิ้มน้ำผึ้ง ข้าวบ่ายเกลือ คือข้าวเหนียวปั้นเป็นก้อนจิ้มเกลือให้พอมีรสเค็ม ถ้ามีมะขามจะเอามาใส่เป็นไส้เรียกมะขามบ่ายข้าว น้ำอ้อยกะทิ ทำด้วยน้ำอ้อยที่เคี่ยวจนเหนียว ใส่ถั่วลิสงคั่วและมะพร้าวซอย ข้าวพองทำมาจากข้าวตากคั่วใส่มะพร้าวหั่นเป็นชิ้นๆ และถั่วลิสงคั่ว กวนกับน้ำอ้อยจนเหนียวเทใส่ถาด ในงานบุญต่างๆจะนิยมทำขนมปาด (คล้ายขนมเปียกปูนของภาคกลาง) ลอดช่อง และขนมหมก (แป้งข้าวเหนียวโม่ ปั้นเป็นก้อนกลมใส่ไส้กระฉีก ห่อเป็นสามเหลี่ยมคล้ายขนมเทียน นำไปนึ่ง)[12]
[แก้] ขนมไทยภาคใต้
ชาวใต้มีความเชื่อในเทศกาลวันสารท เดือนสิบ จะทำบุญด้วยขนมที่มีเฉพาะในท้องถิ่นภาคใต้เท่านั้น เช่น ขนมลา ขนมพอง ข้าวต้มห่อด้วยใบกะพ้อ ขนมบ้าหรือขนมลูกสะบ้า ขนมดีซำหรือเมซำ ขนมเจาะหูหรือเจาะรู ขนมไข่ปลา ขนมแดง เป็นต้น
ตัวอย่างของขนมพื้นบ้านภาคใต้ได้แก่ [13]
ขนมหน้าไข่ ทำจากแป้งข้าวเจ้านวดกับน้ำตาล นำไปนึ่ง หน้าขนมทำด้วย กะทิผสมไข่ น้ำตาล เกลือ ตะไคร้และหัวหอม ราดบนตัวขนม แล้วนำไปนึ่งอีกครั้ง
ขนมฆีมันไม้ เป็นขนมของชาวไทยมุสลิม ทำจากมันสำปะหลังนำไปต้มให้สุก โรยด้วยแป้งข้าวหมาก เก็บไว้ 1 คืน 1 วันจึงนำมารับประทาน
ขนมจู้จุน ทำจากแป้งข้าวเจ้านวดกับน้ำเชื่อม แล้วเอาไปทอด มีลักษณะเหนียวและอมน้ำมัน
ขนมคอเป็ด ทำจากแป้งข้าเจ้าผสมกับแป้งข้าวเหนียว นวดรวมกับไข่ไก่ รีดเป็นแผ่น ตัดเป็นชิ้นๆ เอาไปทอด สุกแล้วเอาไปเคล้ากับน้ำตาลโตนดที่เคี่ยวจนเหนียวข้น
ขนมคนที ทำจากใบคนที ผสมกับแป้งและน้ำตาล นึ่งให้สุก คลุกกับมะพร้าวขูด จิ้มกับน้ำตาลทราย
ขนมกอแหละ ทำจากแป้งข้าวเจ้ากวนกับกะทิและเกลือ เทใส่ถาด โรยต้นหอม ตัดเป็นชิ้นๆ โรยหน้าด้วย มะพร้าวขูดคั่ว กุ้งแห้งป่น และน้ำตาลทราย
ขนมก้านบัว ทำจากข้าวเหนียวนึ่งสุก นำไปโขลกด้วยครกไม้จนเป็นแป้ง รีดให้แบน ตากแดดจนแห้ง ตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ทอดให้สุก ฉาบด้วยน้ำเชื่อม
ข้าวเหนียวเชงา เป็นข้าวเหนียวนึ่งสุก ตำผสมกับงาและน้ำตาลทราย
ข้าวเหนียวเสือเกลือก คล้ายข้าวโพดคลุกของภาคกลางแต่เปลี่ยนข้าวโพดเป็นข้าวเหนียวนึ่งสุกและใส่กะทิด้วย
ขี้หมาพองเช มีลักษณะเป็นก้อนๆ ทำจากข้าวเหนียวคั่วสุกจนเป็นสีน้ำตาล ตำให้ละเอียดเคล้ากับมะพร้าวขูด น้ำตาลโตนดที่เคี่ยวจนข้น เคล้ให้เข้ากันดี แล้วปั้นเป็นก้อน
[แก้] ขนมในพิธีกรรมและงานเทศกาล
ขนมไทยมีส่วนร่วมในวิถีชีวิตไทยในทุกเทศกาลและโอกาสต่างๆ แสดงให้เห็นถึงความผูกพันและเป็นส่วนสำคัญของวัฒนธรรมไทยตั้งแต่สมัยโบราณ ขนมที่ใช้ในงานเทศกาลและพิธีกรรมต่างๆของไทยตลอดทั้งปีสรุปได้ดังนี้
[แก้] ขนมไทยในงานเทศกาล
งานตรุษสงกรานต์ ที่พระประแดง และราชบุรี ใช้กะละแมเป็นขนมประงานตรุษ[14] [15]
สารทไทย เดือน 10 ทุกภาคยกเว้นภาคใต้ ใช้กระยาสารทเป็นขนมหลัก นอกจากนั้น อาจมี ข้าวยาคู ข้าวมธุปายาส ข้าวทิพย์ ส่วนทางภาคใต้ จะมี ขนมสารทเดือนสิบ โดยใช้ขนมลา ขนมพอง ขนมท่อนใต้ ขนมบ้า ขนมเจาะหูหรือขนมดีซำ ขนมต้ม (ข้าวเหนียวใส่กะทิห่อใบกะพ้อต้ม ต่างจากขนมต้มของภาคกลาง) ยาสาด (กระยาสารท) ยาหนม (กะละแม)[14] โดยขนมแต่ละชนิดที่ใช้มีความหมายคือ ขนมพอง เป็นแพพาข้ามห้วงมหรรณพ ขนมกงหรือขนมไข่ปลา เป็นเครื่องประดับ ขนมดีซำเป็นเงินเบี้ยสำหรับใช้สอย ขนมบ้า ใช้เป็นลูกสะบ้า ขนมลาเป็นเสื้อผ้าแพรพรรณ [16]
เทศกาลออกพรรษา การตักบาตรเทโว เดือน 11 นิยมทำข้าวต้มผัดห่อด้วยใบตองหรือใบอ้อย ธรรมเนียมนี้มาจากความเชื่อทางศาสนาที่ว่า เมื่อประชาชนไปรอรับเสด็จพระพุทธเจ้าเมื่อทรงพุทธดำเนินจากเทวโลกกลับสู่โลกมนุษย์ ณ เมืองสังกัสสะ ชาวเมืองที่ไปรอรับเสด็จได้นำข้าวต้มผัดไปเป็นเสบียงระหว่างรอ[14] บางท้องที่มีการทำข้าวต้มลูกโยนใส่บาตรด้วยเช่น ชาวไทยเชื้อสายมอญที่จังหวัดราชบุรี [15]
ในช่วงออกพรรษา ที่จังหวัดนครศรีธรรมราชมีประเพณีลากพระและตักบาตรหน้าล้อ ซึ่งจะใช้ขนมสองชนิดคือ ห่อต้ม (ข้าวเหนียวผัดกะทิห่อเป็นรูปสามเหลี่ยมด้วยใบพ้อ) และห่อมัด (เหมือนห่อต้มแต่ห่อด้วยใบจากหรือใบมะพร้าวอ่อนเป็นรูปสี่เหลี่ยมใช้เชือกมัด)[17]
ในช่วงถือศีลอดในเดือนรอมฎอน ชาวไทยมุสลิมนิยมรับประทานขนมอาเก๊าะ[18]
เดือนอ้าย มีพระราชพิธีเลี้ยงขนมเบื้อง เมื่อพระอาทิตย์โคจรเข้าราศีธนู นิมนต์พระสงฆ์ 80 รูป มาฉันขนมเบื้องในพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย[19]
เดือนอ้ายในจังหวัดนครศรีธรรมราชมีประเพณีให้ทานไฟ โดยชาวบ้านจะก่อไฟและเชิญพระสงฆ์มาผิงไฟ ขนมที่ใช้ในงานนี้มี ขนมเบื้อง ขนมครก ขนมกรอก ขนมจูจุน กล้วยแขก ข้าวเหนียวกวน ขนมกรุบ ข้าวเกรียบปากหม้อ )[17]
เดือนสาม ทางภาคอีสานมีประเพณีบุญข้าวจี่ ซึ่งจะทำข้าวจี่ไปทำบุญที่วัด[20]
ชาวไทยมุสลิมมีประเพณีกวนขนมอาซูรอในวันที่ 10 ของเดือนมูฮรอม[13]
[แก้] ขนมไทยในพิธีกรรมและความเชื่อ
การสะเดาะเคราะห์และแก้บนของศิลปินวายัง-มะโย่งของชาวไทยมุสลิมทางภาคใต้ ใช้ข้าวเหนียวสามสี (ขาว เหลือง แดง) ข้าวพอง (ฆีแน) ข้าวตอก (มือเตะ)รา (กาหงะ) และขนมเจาะหู[21]
ในพิธีเข้าสุหนัต< ขึ้นบ้านใหม่ แต่งงาน นำเรือใหม่ลงน้ำ ชาวไทยมุสลิมนิยมทำขนมฆานม[21]
ขนมที่ใช้ในงานแต่งงาน ในภาคกลางนอกกรุงเทพฯออกไปจะมีขนมกงเป็นหลัก นอกจากนั้นมีทองเอก ขนมชะมด ขนมสามเกลอ ขนมโพรงแสม ขนมรังนก บางแห่งใช่ขนมพระพายและขนมละมุดก็มี ในบางท้องถิ่น ใช้ กะละแม ข้าวเหนียวแดง ข้าวเหนียวแก้ว ขนมชั้น ขนมเปียก ขนมเปี๊ยะ ถ้าเป็นตอนเช้า ยังไม่ถึงเวลาอาหาร จะมีการเลี้ยงของว่างเรียก กินสามถ้วย ได้แก่ ข้าวเหนียวน้ำกะทิ ข้าวตอกนำกะทิ ลอดช่องน้ำกะทิ บางแห่งใช้ มันน้ำกะทิ เม็ดแมงลักน้ำกะทิ[22] บางท้องถิ่นใช้ขนมต้มด้วย[23]
พิธีแต่งงานของชาวไทยมุสลิม จะมีพิธีกินสมางัตซึ่งเป็นการป้อนข้าวและขนมให้เจ้าบ่าวเจ้าสาว ขนมที่ใช้มี กะละแมหรือขนมดอดอย ขนมก้อหรือตูปงปูตู ขนมลาและข้าวพอง[24]
ขนมที่ใช้ในงานบวชและงานทอดกฐินของชาวไทยเชื้อสายมอญในจังหวัดราชบุรีได้แก่ ขนมปลาหางดอก และลอดช่องน้ำกะทิ[15]
ในงานศพ ชาวไทยเชื้อสายมอญในจังหวัดราชบุรีนิยมเลี้ยงเม็ดแมงลักน้ำกะทิ [15]
การบูชาเทวดาในพิธีกรรมใดๆ เช่น ยกเสาเอก ตั้งศาลพระภูมิใช้ขนมต้มแดง ขนมต้มขาว เป็นหลักในเครื่องสังเวยชุดธรรมดา [25] ชุดใหญ่เพิ่ม ข้าวตอก งาคั่ว ถั่วทอง ฟักทองแกงบวด ในพิธีทำขวัญจุกใช้ขนมต้มขาวต้มแดงด้วยเช่นกัน [26] เครื่องกระยาบวชในการไหว้ครูเพื่อทำผงอิทธิเจ ใช้ขนมต้มแดงต้มขาวเช่นกัน[27]
พิธีเลี้ยงผีของชาวไทยเชื้อสายมอญในจังหวัดราชบุรีใช้ ขนมบัวลอย ขนมทอด [15]
ขนมที่ใช้ในพิธีไหว้ครูมวยไทยและกระบี่กระบอง ได้แก่ แกงบวด (กล้วย เผือกหรือมัน) เผือกต้ม มันต้ม ขนมต้มแดงต้มขาว ขนมชั้น ถ้วยฟู ฝอยทอง เม็ดขนุน ทองหยอด[28]
ในการเล่นผีหิ้งของชาวชอง บนหิ้งมีขนมต้ม ขนมเทียนเป็นเครื่องเซ่นด้วย[29]
[แก้] ขนมที่มีชื่อเสียงเฉพาะถิ่น
จังหวัดกรุงเทพมหานคร เขตธนบุรีมีขนมฝรั่งกุฎีจีน
จังหวัดจันทบุรี และจังหวัดตราด มีทุเรียนกวน
จังหวัดฉะเชิงเทรา มี ขนมชั้น
จังหวัดชลบุรี ตลาดหนองมน มี ข้าวหลาม
จังหวัดชุมพร มีขนมควายลุย
จังหวัดตรัง มี ขนมเค้กเมืองตรัง
จังหวัดนครปฐม มีขนมผิงและข้าวหลาม
จังหวัดนครสวรรค์ มี ขนมโมจิ ขนมฟักเขียวกวน
จังหวัดปราจีนบุรี มี ขนมเขียว
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ส่วนใหญ่เป็นผลไม้เชื่อ ผลไม้กวน เช่น มะยมเชื่อ พุทรากวน ที่ ตำบลท่าเรือ มีขนมบ้าบิ่น
จังหวัดพัทลุง มี ขนมก้านบัว
จังหวัดพิษณุโลก อำเภอบางกระทุ่ม มีกล้วยตาก
จังหวัดเพชรบุรี เป็นแหล่งที่มีขนมหวานที่มีชื่อเสียงมานาน โดยเฉพาะขนมที่ทำมาจากตาลโตนดเช่น จาวตาลเชื่อม โตนดทอด ตังเม ส่วนขนมชนิดอื่นที่มีชื่อเสียงตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 เป็นต้นมาคือ ขนมขี้หนู ข้าวเกรียบงา ขนมหม้อแกง[30]
ดูบทความหลักที่ ขนมเมืองเพชร
จังหวัดสตูล มี ขนมบุหงาบูดะ ขนมโรตีกาปาย และ ข้าวเหนียวกวนขาว
จังหวัดสมุทรปราการ มี ขนมจาก
จังหวัดสมุทรสาคร มีขนมจ่ามงกุฏ
จังหวัดสิงห์บุรี มีมะม่วงกวนหรือส้มลิ้ม
จังหวัดสุพรรณบุรี อำเภอบางปลาม้า มีขนมสาลี่
จังหวัดอ่างทอง อำเภอวิเศษชัยชาญ มีขนมเกสรลำเจียก
จังหวัดอุทัยธานี หนองแก มี ขนมกง ขนมปังสังขยา
[แก้] ขนมไทยที่ได้รับอิทธิพลจากขนมของชาติอื่น
ไทยได้รับเอาวัฒนธรรมด้านอาหารของชาติต่างๆ มาดัดแปลงให้เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น วัตถุดิบที่หาได้ เครื่องมือเครื่องใช้ ตลอดจนการบริโภคนิสัยแบบไทยๆ จนทำให้คนรุ่นหลังๆ แยกไม่ออกว่าอะไรคือขนมที่เป็นไทยแท้ๆ และอะไรดัดแปลงมาจากวัฒนธรรมของชาติอื่น เช่น ขนมที่ใช้ไข่และขนมที่ต้องเข้าเตาอบ ซึ่งเข้ามาในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จากคุณท้าวทองกีบม้าภรรยาเชื้อชาติญี่ปุ่น สัญชาติโปรตุเกสของเจ้าพระยาวิชเยนทร์ ผู้เป็นกงศุลประจำประเทศไทยในสมัยนั้น ไทยมิใช่เพียงรับทองหยิบ ทองหยอด และฝอยทองมาเท่านั้น หากยังให้ความสำคัญกับขนมเหล่านี้โดยใช้เป็นขนมมงคลอีกด้วย ส่วนใหญ่ตำรับขนมที่ใส่ไข่มักเป็น "ของเทศ" เช่น ทองหยิบ ฝอยทอง ทองหยอดจากโ


ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%82%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2

สุขภาพ

สุขภาพ
สุขภาพดีคือสิ่งที่ทุกคนปรารถนา สุขภาพดีเป็นสิ่งพรหมลิขิตให้แต่ไม่ทั้งหมด หลายคนไขว่ขว้าหาสุขภาพดี ใช้เงินใช้ทองซื้อทำสปา เข้าโปรแกรมลดน้ำหนัก ซื้ออาหารลดน้ำหนักมารับประทาน การมีสุขภาพที่ดีต้องอาศัยตัวเองดูแลสุขภาพ ให้เวลากับตัวเองเพียงวันละ 1 ชั่วโมงในการออกกำลังกาย อีก 7 ชั่วโมงในการนอนหลับ และรับประทานอาหารที่มีคุณภาพ
google_protectAndRun("render_ads.js::google_render_ad", google_handleError, google_render_ad);
ธรรมชาติคงไม่ให้สุขภาพที่ดีแด่คนที่ชอบทำร้ายตัวเองอยู่เรื่อย แม้ว่าจะทราบแล้วว่าสิ่งนั้นไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพ สุขภาพไม่สามารถซื้อด้วยเงินถึงแม้คุณจะรวยเป็นมหาเศรษฐีหากคุณไม่ดูแลตัวเองให้ดี เงินที่มีอยู่เพียงบรรเทาอาการเท่านั้น
หลายท่านคิดว่าการออกกำลังกายเสียเวลา ท่านลองจิตนาการถึงภาระงานที่ท่านรับผิดชอบในแต่ละวันว่ามีมากน้อยเพียงใด หากท่านไม่ดูแลตัวเองและเกิดโชคร้ายท่านเป็นโรคอัมพาตหรือโรคหัวใจ ภาระที่ท่านว่ามากมายจนไม่มีเวลาออกกำลังกาย ภาระเหล่านั้นใครจะเป็นคนดูแล และหากโชคร้ายถึงขั้นช่วยตัวเองไม่ได้ ใครจะมาเป็นคนดูแลท่าน ท่านเพียงเสียเวลาวันละประมาณ 1 ชั่วโมง หรือท่านอาจจะใช้เวลาในการดูทีวีและออกกำลังกายไปด้วยกันซึ่งก็จะทำให้ท่านมีสุขภาพที่ดีขึ้น
หลายท่านเชื่อว่า คนผอมเท่านั้นที่มีสุขภาพดี จึงทำการลดน้ำหนักด้วยการอดอาหารเป็นการใหญ่เพื่อให้น้ำหนักได้มาตรฐาน แต่การลดน้ำหนักอาจจะเป็นเรื่องลำบาก และการอดอาหารเป็นเวลานานๆอาจจะมีอันตรายต่อสุขภาพ จึงอยากให้ท่านผู้อ่านได้เปลี่ยนมุมมองใหม่
การมีสุขภาพที่ดีไม่ได้หมายถึงน้ำหนักที่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานแต่หมายถึงการที่เราดูแลตัวเองอย่าถูกต้องตั้งแต่เรื่อง การออกกำลังกาย การรับประทานอาหาร การพักผ่อน การป้องกันโรค การลดหรือเลิกสิ่งที่บั่นทอนสุขภาพ ร่างกายเรากระปี้กระเปร่าพร้อมที่จะดำเนินชีวิตประจำวัน เนื้อหาที่จะกล่าวจะเป็นแนวทางในการดูแลสุขภาพของท่าน
การปฏิบัติตามแนวทางไม่ได้ต้องการให้ท่านมีอายุยาวหมื่นๆปีแต่ต้องการให้ท่านมีสุขภาพที่แข็งแรง ไม่ป่วยบ่อย สามารถหลีกเลี่ยงโรคที่ป้องกันได้ อายุยืนยาวขึ้น การที่จะมีสุขภาพที่ดีต้องประกอบไปด้วยการดูแลดังต่อไปนี้
google_protectAndRun("ads_core.google_render_ad", google_handleError, google_render_ad);
อาหารสุขภาพ
รักษาน้ำหนักที่เหมาะสม
การออกกำลังกาย
ออกกำลังเพื่อหัวใจแข็งแรง
การตรวจสุขภาพ
การดื่มสุรา
กาแฟกับสุขภาพ
การป้องกันโรคมะเร็ง
สารตะกั่วกับสุขภาพ
การหยุดสูบบุหรี่
การจัดการกับความเครียด
การจัดการกับอาการปวดหลัง
การจัดการกับอาการปวดต้นคอ
การคาดเข็มขัดนิรภัย
กลิ่นปาก
การดูและฟัน
การจัดตั้งคอมพิวเตอร์
เกี่ยวกับเชื้อรา
สุขภาพในที่ทำงาน
ลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรค
การตรวจสุขภาพ
การแปลผลเลือด
ความปลอดภัยเครื่องไฟฟ้า
โรคอ้วน
ไขมันในเลือดสูง
โรคความดันโลหิตสูง
โรคเบาหวาน
การป้องกันมะเร็ง

สมุนไพร

สมุนไพรพื้นบ้าน
สมุนไพรพื้นบ้าน คือ พืชผักพื้นบ้านที่ใช้ทำเป็นเครื่องยา ในการรักษาโรคต่างๆ และเป็นที่น่าดีใจ ที่บ้านเราก็พืชผักพื้นที่ใช้เป็นยาสมุนไพร งั้นเรามาเริ่มทำความรู้จักกับ สมุนไพรพื้นบ้าน กันเลยนะคะ

มะยม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก : learners.in.th
ประโยชน์ทางยา
ราก รสจืด สรรพคุณแก้โรคผิวหนัง แก้ผดผื่นคัน ช่วยซับน้ำเหลืองให้แห้ง แก้ประดง ดับพิษเสมหะ โลหิตเปลือกต้น รสจืด สรรพคุณแก้ไข้ทับระดู ระดูทับไข้ แก้เม็ดผดผื่นคันใบ รสจืดมัน ปรุงเป็นส่วนประกอบของยาเขียว สรรพคุณแก้ไข้ ดับพิษไข้ บำรุงประสาท ต้มร่วมกับใบหมากผู้หมากเมียและใบมะเฟืองอาบแก้ผื่นคัน ไข้หัด เหือด สุกใสดอก ใช้สด ต้มกรองเอาน้ำแก้โรคในตา ชำระน้ำในตาผล รสเปรี้ยวสุขุม กัดเสมหะ แก้ไอ บำรุงโลหิต ระบายท้อง

ขอบคุณภาพประกอบจาก : oknation.net
ขนาดและวิธีใช้
1. ใช้เป็นยาแก้ไข้ทับระดุ ระดูทับไข้ ให้นำเปลือกต้น (เปลือกสด) มาต้มเอาน้ำดื่ม2. เป็นยาบำรุงประสาท ขับเสมหะ ใช้ใบสด ต้มเอาน้ำดื่ม3. ใช้สำหรับล้างและชำระฝ้านัยน์ตา แก้โรคตา ให้นำดอกสด ต้มกรองเอาน้ำล้าง4. เป็นยาแก้โรคผิวหนัง ดับพิษเสมหะโลหิต ช่วยขับน้ำเหลือง ใช้รากสดต้มเอาน้ำดื่ม5. กัดเสมหะ แก้ไอ บำรุงโลหิต รับประทานผลได้ทั้งดิบและสุก6. แก้ไข้หัวต่าง ๆ ให้นำใบสด ต้มร่วมกับใบหมากผู้หมากเมีย ใบมะเฟืองอาบ7. แก้เม็ดผดผื่นคัน ใช้เปลือกต้น ต้มอาบ
ข้อควรระวัง
น้ำยางจากเปลือกราก มีพิษเล็กน้อย ถ้ารับประทานเข้าไปจะมีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง ปวดศีรษะ และง่วงซึม

มะขาม

ขอขอบคุณภาพประกอบจาก : espazs.spaces.live.com
ประโยชน์ทางยา
แก่น รสฝาดเมา สรรพคุณกล่อมเสมหะและโลหิตเนื้อมะขาม รสเปรี้ยว ชุ่มเย็น ใช้แก้ร้อน ขับเสมหะ แก้อาการเบื่ออาหาร ในฤดูร้อนอาการคลื่นไส้ อาเจียนในหญิงมีครรภ์ และแก้เด็กเป็นตานขโมยแก้ท้องผูกใบแก่ มีรสเปรี้ยวฝาด ใช้นำมาปรุงเป็นยาแก้ไอ โรคบิด ขับเสมหะในลำไส้ฟอกโลหิตขับเลือดลมในลำไส้ แก้หวัดคัดจมูกในเด็ก ใบอบไอน้ำเมล็ดแก่ รสฝาดมัน ใช้ถ่ายพยาธิไส้เดือนในท้องเด็ก แก้ท้องร่วงและอาเจียนเปลือกต้น รสฝาด แก้ท้องอืด ท้องแน่น อาหารไม่ย่อย แก้เจ็บปากเจ็บคอ สมานแผลเรื้อรัง
ขนาดวิธีใช้
1. แก้อาการเบื่ออาหารในฤดูร้อน อาการคลื่นไส้อาเจียนในหญิงมีครรภ์ แก้เด็กเป็นตานขโมย ใช้เนื้อมะขาม 15-30 กรัม อุ่นให้ร้อนรับประทาน หรือผสมน้ำตาลทราย เคี่ยวให้ข้น รับประทานได้ทันที2. รักษาฝีให้ใช้เนื้อมะขามผสมกับปูนแดงทาที่เป็น3. เป็นยาขับเลือด ขับลม แก้สันนิบาต ให้ใช้เนื้อมะขามผสมกับเกลือและข่า4. น้ำมะขามเปียกคั้นเป็นน้ำข้น ๆ ผสมเกลือเล็กน้อย รับประทานชามใหญ่ ใช้สำหรับล้างเลือกที่ตกค้างภายในของหญิงหลังคลอดใหม่ ๆ หลังจากที่รกออกมาแล้ว5. แก้หวัดคัดจมูกในเด็ก หรือทำให้สดชื่นหลังจากฟื้นไข้ หรือหลังคลอด ใช้ใบมะขามแก่ ต้มรวมกับหัวหอมแดง 2-3 หัว โกรกศีรษะเด็กในเวลาเช้ามืด หรือต้มน้ำอาบหลังคลอดและหลังฟื้นไข้ทำให้สดชื่น6. แก้ท้องร่วงและอาเจียนใช้เม็ดแก่คั่วให้เกรียมแล้วกะเทาะเปลือกออกใช้ประมาณ 20-30 เมล็ด นำมาแช่เกลือจนอ่อนนุ่ม7. แก้เจ็บปากเจ็บคอ ใช้เปลือกต้น ผสมเกลือ เผาในหม้อดินจนเป็นเถ้าขาว รับประทานครั้งละ 60-120 มิลลิกรัม และยังใช้เถ้านี้ผสมน้ำอมบ้วนปาก8. ถ่ายพยาธิเส้นด้าย พยาธิตัวกลม นำเมล็ดมะขามมาคั่ว แล้วกะเทาะเปลือกนอกออกใช้เล็ดในที่มีสีขาว 20-25 เมล็ด ต้มกับน้ำใส่เกลือเล็กน้อย รับประทาน 1 ครั้ง หรือคั่วเนื้อในให้เหลืองกระเทาะเปลือกแช่น้ำให้นิ่มแล้วเคี้ยวเช่นถั่ว9. ยาล้างแผลเรื้อรัง สมานแผล ใช้เปลือกต้น 1 กำมือ ต้มกับน้ำตาล 3 แก้วให้เดือดนาน 20-30 นาที เอาน้ำมาล้างแผล10. แก้ท้องผูก มะขามแกะเอาแต่เนื้อ ปั้นเป็นก้อนโตประมาณนิ้วหัวแม่มือ 2 ก้อน (ธาตุหนังใช้ 3 ก้อน) คลุกกับเกลือป่น แล้วแบ่งเป็นลูกเล็ก ๆ พอกลืนสะดวก กลืนกับน้ำแล้วดื่มน้ำอุ่น ๆ ตามประมาณ 1 แก้ว
ข้อควรระวัง
เนื้อมะขามเปียกมีฤทธิ์เป็นยาระบาย หากรับประทานมากเกินไปอาจทำให้ท้องเสียได้

มะนาว
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก : fm100cmu.com
ประโยชน์ทางยา
น้ำมะนาว มีรสเปรี้ยว สรรพคุณแก้ไอ ขับเสมหะ ช่วยบรรเทา อาการเจ็บคอ บำรุงเสียง ขับระดู แก้เล็บขบ ขับลม แก้ริดสีดวงทวาร ป้องกันโรคลักปิดลักเปิด รักษาอาการบวมฟกช้ำ ทำให้ผิวนุ่ม แก้ซางเปลือกมะนาว ใช้รักษาท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่น จุกเสียดเมล็ด รสขมหอม แก้ซาง ขับเสมหะ แก้หายใจขัด แก้ไข้ แก้พิษไข้ร้อน บำรุงน้ำดี แก้พิษฝีภายในราก รสเย็ดจืด แก้ไข้กลับไข้ซ้ำ ถอนพิษผิดสำแดง แก้ฝีมีหัว แก้ปวดฝีใบ รสปร่า สรรพคุณฟอกโลหิตระดู ฟอกเสมหะ แก้ฝีตะมอย ฝี ฟกช้ำ แก้ไข้ แก้กลาก แก้กองลมทุกชนิด แก้ริดสีดวง แก้ไอ แก้หืดดอก แก้ท้องอืดเฟ้อ ปวดท้อง แก้คลื่นไส้อาเจียน แก้ไอผล แก้ท้องอืดเฟ้อ ปวดท้อง แก้สิวฝ้า แก้ส้นเท้าแตก รักษาแผลจากแมลงมีพิษ
ขนาดวิธีใช้
1. ขับเสมหะ บรรเทาอาการเจ็บคอ นำผลสดมาคั้นเอาน้ำ จะได้น้ำมะนาวเข้มข้น ใส่เกลือเล็กน้อย จิบบ่อย ๆ หรือปรุงเป็นน้ำมะนาว โดยเติมน้ำตาลทรายแดง 1 ช้อนโต๊ะ และเกลือเล็กน้องชงน้ำอุ่นดื่มบ่อย ๆ (ควรปรุงให้รสจัดเล็กน้อย)2. แก้ไอ ให้น้ำมะนาว 1 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำผึ้ง 4 ช้อนโต๊ะ จิบบ่อย ๆ หรือฝานมะนาวเป็นชิ้นบาง ๆ จิ้มเกลือรับประทาน หรือถ้ามีขี้ไต้ในบ้าน อาจเอามะนาวผ่าซีกแล้วรมควันขี้ไต้ก่อนแล้วจึงโรยเกลือ และบีบใส่คอ วิธีรมควันคือ เอาขี้ไต้ชิ้นเล็ก ๆ จุดเข้าเอาหน้าตัดของมะนาวไปขยับไปขยับมาอยู่ใกล้ ๆ ไฟให้เข่าจับ ในเขม่าจะมียาฆ่าเชื้ออ่อน ๆ3. บรรเทาอาการฟกช้ำภายนอก ให้นำน้อมะนาวผสมกับดินสอพองทาหรือพอกบริเวณที่ฟกช้ำก็จะช่วยบรรเทาลงได้4. แก้ท้องอืด ใช้เปลือกมะนาวสดประมาณครึ่งผล คลังหรือทุบเล็กน้อย พอให้น้ำมันออกมา ชงน้ำร้อนดื่ม เมื่อมีอาการ หรือใช้เปลือกผลมะนาวแห้ง 10-15 กรัม ต้มเอาน้ำดื่ม5. แก้ซางแก้ไข้ ขับเสมหะ ใช้เมล็ดคั่ว บดเป็นผง หรือต้มน้ำดื่ม6. กักฟอกเสมหะ ฟอกโลหิตระดู ใช้ใบ 108 ใบต้มเอาน้ำดื่ม7. บำรุงกำลัง ทำให้สดชื่นเวลาเป็นไข้ เอาน้ำมะนาวสด 1 ผล น้ำตาล 16 กรัม น้ำข้าว 500 ซี.ซี. ผสมกันดื่ม8. แก้โรคลักปิดลักเปิด นำน้ำมะนาว 30 ซี.ซี. น้ำตาล 80 กรัม น้ำ 240 ซี.ซี. ผสมกันรับประทานวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น9. รักษาฝีมีหัว ให้ใช้รากมะนาวฝนกับสุราให้ข้น ๆ ทาฝี แก้ปวดฝีทาวันละ 2-3 ครั้ง10. แก้น้ำร้อนลวก ใช้มะนาวผ่าซีกถูบริเวณแผลไปมาให้ทั่ว ๆ วันละ 2-3 ครั้ง ทำประมาณ 4-5 วัน จะหายเป็นปกติ11. รักษาผิวหน้าให้สวยเสมอ ก่อนเข้านอนทุกคืน เอาดินสอพอง 1/2 ก้อน ต่อมะนาว 1 ซีก บีบมะนาวลงในดินสอพอง ผสมให้เข้ากันดีแล้วทาบาง ๆ ให้ทั่วใบหน้า ทิ้งไว้ตลอดคืน รุ่งเช้าจึงล้างออกจะรู้สึกว่าใบหน้าสะอาดขึ้น และช่วยป้องกันสิวอีกด้วย12. แก้ปวดศีรษะ ใช้มะนาวฝานเป็นแว่น หนาประมาณ 6 มม. เอาปูนแดง(ที่รับประทานกับหมาก) ทาด้านหนึ่งให้ทั่ว แล้วเอาด้านนั้นมาปิดขมับที่ปวด ปล่อยไว้จนกว่ายาจะหลุดออกมาเอง

จริงๆ แล้วยังมี สมุนไพรพื้นบ้าน ใกล้ๆ ตัวเราอีกมากมาย แล้วโอกาสเราจะหยิบสรรพคุณของ สมุนไพรพื้นบ้านที่น่าสนใจมาฝากเพื่อนๆ กัน อีกนะคะ อย่าลืมติดตาม คอร์ลั่ม สมุนไพรของเราต่อไปนะคะ สวัสดีคะ….